ตราสัญญาลักษณ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ลักษณะ เป็นภาพลายเส้น และลงสี
พระมหาพิชัยมงกุฎสีทอง เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีรัศมี 17 แฉกล้อมแสดงถึงความรุ่งโรจน์กึ่งกลางพระมหาพิชัยมงกุฎมีเครื่องหมายอุณาโลม
พระปรมาภิไธย รร.6 เป็นอักษรพระปรมาภิไธยในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ใช้แบบอักษรจากพระปรมาภิไธย ซึ่งประดับอยู่เหนือบานประตูพระที่นั่งพิมานจักรี พระราชวังพญาไท) ผู้ทรงสร้างพระราชวังพญาไท ซึ่งเป็นที่ตั้งของหน่วย เป็นอักษรสีทองในวงกลมสีขาบ (สีน้ำเงินอมม่วง) เป็นสีประจำพระองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6
พญานาคคู่ หมายถึง กิจการแพทย์ทหาร สีทอง มีลายตามตัวพญานาคสีขาบ (สีน้ำเงินอมม่วง) อยู่บนแถบแพรสีขาบ ประกอบนามหน่วย “วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า” เป็นอักษรสีเหลืองหรือสีทอง
ผู้ออกแบบ พันเอกหญิง ศาสตราจารย์ทิพย์ ศรีไพศาล พันเอก สุชินทร์ แหลมทอง และข้าราชการเวชนิทัศน์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ต้นอินทนิล
ต้นไม้ประจำวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Myrtales |
วงศ์: | Lythraceae |
สกุล: | Lagerstroemia |
สปีชีส์: | L. speciosa |
อินทนิล หรือ อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เช่น ตะแบกอินเดีย ฉ่องมู ซอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาเอ (ปัตตานี) บางอบะซา (ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย) อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้)
ลักษณะดอก
เป็นชนิดดอกช่อ (inflorescence flower) แบบ Panicle ออกรวมกันเป็นช่อโต ยาวถึง 30 ซ.ม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง มีสี ต่าง ๆ กันเช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพูหรือชมพูล้วน ๆ ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็ก ๆ ติดอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูป กรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฏชัด มีขนสั้นปก คลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซ.ม. เกสรผู้มีขนาดเดียวยาวไล่เรี่ยกัน รังไข่กลม เกลี้ยง
ข้อมูล: จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี