วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
สถาบันผลิตแพทย์ทหารแห่งเดียวของกองทัพ
ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่เพื่อสุขภาพโลก
สถาบันอุดมศึกษา/คณะ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ชื่อปริญญา
แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)
รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 6 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐาน
หลักสูตรระดับอุดมศึกษา
ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ หรือ ปฏิบัติการ
ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา
รับเฉพาะนักศึกษาสัญชาติไทย
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 247 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
- ผู้บังคับหน่วยสายแพทย์ของกองทัพ
- แพทย์ที่สามารถรับการฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา อาจารย์แพทย์ นักวิจัย หรือศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ เช่น แพทยศาสตรศึกษา วิทยาการระบาด สาธารณสุขศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ทางการแพทย์ เป็นต้น
FAQ คำถามที่พบบ่อย
ค่าบำรุงการศึกษาต่อปี (หน่วย: บาท)
รายการ | ชั้นปีที่ 2 | ชั้นปีที่ 3 | ชั้นปีที่ 4 | ชั้นปีที่ 5 | ชั้นปีที่ 6 |
---|---|---|---|---|---|
1. ค่าหน่วยกิต | 14,800 | 17,200 | 17,600 | 16,000 | 16,800 |
2. ค่าบำรุงห้องสมุด | 3,600 | 3,600 | 3,600 | 3,600 | 3,600 |
3. ค่าบำรุงการฝึกปฏิบัติงาน | 4,000 | 4,500 | 7,000 | 2,700 | 11,500 |
4. ค่าบำรุงการศึกษาพิเศษ | 7,200 | 6,000 | 4,000 | 8,500 | 15,100 |
5. ค่าบำรุงสารสนเทศทางการศึกษา | 4,000 | 4,000 | 4,000 | 4,000 | 4,000 |
6. ค่าบำรุงทั่วไป | 3,000 | 3,000 | 3,000 | 3,000 | 3,000 |
รวมเป็นเงิน | 36,600 | 38,300 | 39,200 | 37,800 | 54,000 |
หมายเหตุ: ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศทางการของสถาบัน
ในส่วนของการเตรียมตัวในการสอบเข้าเป็นนักเรียนแพทย์ทหารนั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากการสอบเพื่อเป็นนักเรียนแพทย์ทั่วไปมากนักจะมีเพียงแต่การเตรียมร่างกายเพื่อการคัดเลือกเข้ารับทุนกองทัพบกและการฝึกในช่วงแรกของชั้นปีที่ 2
คิดว่าสิ่งที่ต่างกันนั้น อย่างแรกคือจุดมุ่งหมายหลังฝึกเสร็จแล้ว ของการฝึกทหาร จะเป็นการฝึกเพื่อให้สามารถไปปฏิบัติหน้าที่ รวมไปถึงสามารถรบที่แนวหน้าได้ สามารถใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ทางการทหารได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ส่วนของการฝึกแพทย์ทหารนั้น จะเป็นการฝึกแพทย์เพื่อให้สามารถเข้าใจในคำสั่งทางทหารได้ สามารถไปอยู่ช่วยในแนวหลังได้โดยไม่ติดปัญหาอะไรในเวลาที่คับขัน ซึ่งความเข้มข้นทางการฝึกก็จะต่างกัน เพราะการฝึกทหารจะเน้นการฝึกร่างกายเป็นหลัก เน้นศึกษาวิชาทางทหาร ส่วนการฝึกแพทย์ทหารจะเป็นการฝึกที่ไม่ได้เน้นทางร่างกายมากหนักเท่ากับการฝึกทหาร เน้นทางวิชาทางการแพทย์ เพราะแพทย์ต้องมีความรู้ให้มากเพื่อให้สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากโรคและอาการบาดเจ็บได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง



สัมมนาหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต วพม. สำหรับ นพท.-นศพ.วพม. ชั้นปีที่ 2 วันที่ 8-9 ธ.ค. 65
